Online e-Book
![]() เปิดอ่านออนไลน์แบบ flip e-book สนับสนุนโดย ![]() 337 read
★ = เรื่องเด่นจากปกฉบับนี้
|
![]()
ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฏาคม-กันยายน 2565
วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. |
Editor's talkงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำ ปี 2565 ปีนี้ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13-21 สิงหาคม ด้วยธีม “ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Art - Science - Innovation for Sustainable Society)” ซึ่งนอกจากจะเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติพระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แล้ว ยังเป็นการนำเสนอเปิดโลกผู้เข้าชมสู่ประสบการณ์ความรู้ และจินตนาการ โดยเฉพาะการสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม(วทน.) ที่ชมแล้วอยากต่อยอดพัฒนางานวิจัย หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ เพื่อการนำ ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นการใช้ วทน. เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งนี้ จะเห็นว่า การกระตุ้นให้เด็กๆ มีแนวคิดเป็นวิทยาศาสตร์ในการมองโลกและสิ่งรอบตัวเป็นเรื่องสำ คัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะสร้างสังคมอุดมปัญญา เพราะถ้าเด็กได้รับการปลูกฝังมาอย่างดีในเรื่องของการคิดที่เป็นระบบ มีตรรกะที่ดี มีเหตุมีผล เยาวชนเหล่านี้ก็จะเติบโตต่อไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ รู้จักคิด รู้จักทำ ในเชิงสร้างสรรค์ ใช้ชีวิตที่มีเหตุผลเป็นหลักนำ ไม่เชื่อในสิ่งที่งมงาย หรือเชื่อแบบตามๆ กัน โดยไม่สามารถคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง การกระตุ้นให้เด็กๆ มีการคิดเป็นแบบวิทยาศาสตร์ อย่างง่ายๆ เช่นหมั่นถามคำ ถามปลายเปิด (5W1H) ให้เด็กรู้จักคิด มอบหมายงานให้เด็กๆได้มีโอกาสสั่งสมประสบการณ์ในการรู้จัก ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง ก่อนจะเชื่ออะไรง่ายๆ จัดกิจกรรมกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และการทดลองเพื่อเป็นการพิสูจน์ และส่งเสริมชุมชนให้มีการจัดกิจกรรมทาง วทน. ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ไม่ใช่เพียงแค่การทำ มาหากินของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ก็มีความสำคัญในระดับพื้นฐานเช่นกัน สำหรับ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับนี้ ขอเชิญท่านผู้อ่านพบกับเรื่องเด่นประจำ ฉบับ เทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาของวว. Digital transparency หรือความโปร่งใสทางดิจิทัล ดัชนีการไหลหรืออัตราการไหลของพลาสติก และความเชื่อถือได้ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ หวังว่า จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านเป็นอย่างดีค่ะ นฤมล รื่นไวย์ บรรณาธิการ editor @ tistr.or.th |