สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูล และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 โดยมุ่งให้หน่วยงานภาครัฐต้องมีการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลภาครัฐให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล ตลอดจนพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ. จึงได้ออกประกาศนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล วว. ดังต่อไปนี้
วว. ได้ดำเนินการด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสีย ในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐในทุกขั้นตอน ควบคู่ไปพร้อมกับการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร ตลอดวงจรชีวิตข้อมูล (Data Life-Cycle management) ครอบคลุมทั้งมิติความมั่นคงปลอดภัยและคุณภาพข้อมูล จนถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) โดยมีโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูลของ วว. แต่งตั้งตามคำสั่งบริหารสถาบัน ทั้งหมด 4 คณะ ได้แก่
วว. โดยคณะทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยและคุณภาพข้อมูล จึงได้จัดทำเป็น "คู่มือนโยบายและแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลและการจัดการข้อมูล" ขึ้นเป็นการภายในสำหรับบุคลากร วว. เพื่อใช้เป็นกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) หรือแนวทางมาตรฐานสำหรับกำกับดูแล ขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูลของสถาบัน เพื่อให้การดำเนินการบริหารจัดการข้อมูล บูรณาการ เชื่อมโยง ใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย มีคุณภาพ และเป็นส่วนตัว ตลอดวงจรชีวิตข้อมูล โดยมีเนื้อหาครอบคลุม ได้แก่
โดยประกอบด้วยแนวปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดหา รวบรวม (acquisition) และการจัดเก็บ (storage) ข้อมูลทุกรูปแบบ ภายในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตลอดจนข้อมูลภายนอก อาทิ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลคู่ค้า ข้อมูลทางการวิจัย ข้อมูลทางการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับ วว. ทั้งในลักษณะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง รวมถึงแบบจำลองข้อมูลต่างๆ
ครอบคลุมตั้งแต่การทำลาย (destruction) ข้อมูลทุกรูปแบบ ภายในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทั้งในลักษณะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง รวมไปถึงแบบจำลองข้อมูลต่างๆ
ครอบคลุมการดำเนินงานตามหลัก The CIA Triad ได้แก่ การรักษาไว้ซึ่งความลับ (confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (integrity) และความพร้อมใช้ (availability) ของข้อมูล ทั้งในมิติด้านการเข้าถึงระบบสารสนเทศ ด้านกายภาพ สถานที่ตั้งและสภาพแวดล้อม ด้านการป้องกันการบุกรุก ด้านการสำรองข้อมูลส่วนกลาง เพื่อปกป้องและป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง การใช้ และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มิชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนป้องกันข้อมูลรั่วไหลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และจากความบกพร่องผิดพลาดของบุคลากรภายใน วว.
ครอบคลุมการนำข้อมูลมาประมวลผล และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ตลอดจนการร้องขอใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นการเฉพาะภายในสถาบัน ตามที่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ภายใต้อำนาจหน้าที่ที่ได้รับสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตให้เข้าถึงและใช้ประมวลผล
ครอบคลุมการดำเนินงานในส่วนการเปิดเผย การแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างสถาบันกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน
วว. ได้จัดทำ นโยบายและประกาศเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วว. (Privacy Policy / Privacy Notice) ตลอดจนแจ้งรายละเอียดช่องทางการติดต่อ การสอบถามประเด็นการคุ้มครอง การขอใช้สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือติดต่อแจ้งเหตุละเมิด [ ที่นี่ ]
วว. ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลองค์กร ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ตลอดจนเพื่อแสดงความโปร่งใสตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment; ITA) และแสดงถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ด้วยฐานข้อมูลที่จัดไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ ผ่านระบบ ดังนี้
วว. ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเปิดภาครัฐ ผ่านระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ประจำหน่วยงาน เผยแพร่ผ่านเครือข่ายศูนย์ข้อมูลกลางระดับประเทศ ดังนี้